วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

กระชาย

                                           ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กระชาย
กระชาย

สมุนไพรกระชาย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพมหานคร), กระชายดำ กะแอน ขิงทราย (มหาสารคาม), จี๊ปู ซีฟู เปาซอเร๊าะ เป๊าสี่ เป๊าะสี่ ระแอน เป๊าะซอเร้าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ละแอน (ภาคเหนือ), ขิงจีน เป็นต้น
กระชาย มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และกระชายเหลือง (แต่ในบทความนี้เราจะพูดกันถึงกระชายเหลืองครับ) โดยกระชายเป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยต่างรู้จักกันเป็นอย่างดี สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำมาใช้เป็นส่วนผสมสำคัญในแกงป่า หรือผัดต่าง ๆ โดยส่วนที่นิยมนำมาใช้ประกอบอาหารกันมากที่สุดคือ รากสะสมอาหาร หรือที่เรียกว่า “นมกระชาย” ซึ่งรากกระชายนี้จะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สามารถใช้เป็นผักจิ้มได้โดยตรง แต่คนส่วนใหญ่มักจะนิยมนำมาใช้เป็นเครื่องแกงซะมากกว่า เพราะมีคุณสมบัติในการช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์เนื้อปลาได้เป็นอย่างดี
กระชายที่นิยมใช้กันก็คือกระชายเหลืองและกระชายดำ ซึ่งกระชายดำปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยม จนทำให้กระชายเหลืองถูกลดความสำคัญลงไป แต่ว่ากันว่าในด้านสรรพคุณทางยาสมุนไพร กระชายเหลืองนั้นดีกว่ากระชายดำ เพราะบางทีเราก็คิดไปเองว่าสมุนไพรถ้าเป็นสีเข้มกว่าก็น่าจะมีประโยชน์มากกว่า แถมกระชายดำยังได้รับการโปรโมตทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้คนทั่วไปหลงคิดว่ากระชายดำนั้นดีกว่ากระชายเหลืองนั่นเอง
สมุนไพรกระชาย มีสรรพคุณทางยานานับประการ จนได้ชื่อในวงการแพทย์แผนไทยว่าเป็น “โสมไทย” เนื่องจากกระชายกับโสมมีความคล้ายคลึงกันหลายอย่าง เช่น สรรพคุณในการบำรุงกำลังและเสริมสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของสมุนไพรทั้งสองชนิด ทั้งกระชายและโสมต่างก็เป็นพืชที่มีส่วนสะสมอาหารที่ใช้เป็นยาอยู่ใต้ดินเหมือนกัน แถมยังสามารถเรืองแสงในที่มืดได้เหมือนกันด้วย และในเรื่องของลักษณะที่คล้ายกับรูปร่างมนุษย์เหมือน ๆ กัน ซึ่งบางครั้งเราจะเรียกโสมว่า “โสมคน” และเรียกกระชายว่า “นมกระชาย” (เนื่องจากกระชายมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับนมผู้หญิงนั่นเอง และบางครั้งก็ดูคล้ายเพศชาย จึงเกิดความเชื่อที่ว่ามันน่าจะมีความเกี่ยวข้องในเรื่องสรรพคุณทางเพศ)ฃ

สรรพคุณของกระชาย

  1. กระชายมีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะหัวกระชาย
  2. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)
  3. กระชายเหลืองมีสรรพคุณช่วยแก้ลมวิงเวียน แน่นหน้าอก
  4. ช่วยบำรุงกำลัง เสริมสมรรถภาพทางเพศ บำบัดโรคนกเขาไม่ขันหรือโรคอีดี (Erectile Dysfunctional หรือ ED) (เหง้าใต้ดิน)
  5. ช่วยบำรุงหัวใจ ด้วยการใช้เหง้าและรากของกระชายนำมาปอกเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด นำมาหั่นตากแห้งแล้วบดจนเป็นผง และให้ใช้ผงแห้งที่เตรียมไว้ประมาณ 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำร้อนครึ่งถ้วยชา แล้วรับประทานเพียงครั้งเดียว (เหง้า, ราก)
  6. ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยทำให้กระดูกไม่เปราะบาง
  7. ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย
  8. ช่วยบำรุงกำหนัด แก้อาการกามตายด้าน (เหง้าใต้ดิน)
  9. ช่วยบำรุงสมอง เพราะช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนกลางได้ดีมากขึ้น
  10. ช่วยปรับสมดุลของความดันโลหิตในร่างกาย ช่วยลดความดันโลหิตเมื่อความดันโลหิตสูง แต่เมื่อความดันโลหิตต่ำก็จะช่วยทำให้ความดันเพิ่มขึ้นจนเป็นปกติ
  11. สรรพคุณกระชายช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ (ใบ)
  12. กระชายมีสรรพคุณทางยาช่วยแก้โรคในปากและคอ เช่น ปากเปื่อย ปากแห้ง ปากเป็นแผล (ใบ, เหง้า)
  13. ช่วยแก้ฝ้าขาวในปาก ด้วยการใช้กระชายที่ล้างสะอาดนำมาบดแบบไม่ต้องปอกเปลือก แล้วใส่ในโถปั่นพอหยาบ แล้วนำมาใส่ขวดปิดฝาแช่ไว้ในตู้เย็น แล้วนำมากินก่อนอาหารครั้งละ 1 ช้อนชาเล็ก กินวันละ 3 มื้อก่อนอาหารประมาณ 15 นาที ประมาณ 1 อาทิตย์ (ราก)
  14. เหง้าใต้ดินมีรสเผ็ดร้อนและขม มีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดท้อง มวนในท้อง อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ด้วยการใช้เหง้าและรากประมาณครึ่งกำมือ ถ้าสดให้ใช้ประมาณ 5-10 กรัม แต่ถ้าเป็นแห้งให้ใช้ประมาณ 3-5 กรัม แล้วนำมาต้มเอาน้ำดื่มแก้อาการ หรือจะนำมาใช้ปรุงเป็นอาหารไว้รับประทานก็ได้เช่นกัน (เหง้าใต้ดิน)
  15. ช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน ด้วยการใช้เหง้าสด 1-2 เหง้า ใช้เหง้าที่ปิ้งไฟแล้วนำมาฝนหรือตำผสมกับน้ำปูนใส หรือจะคั้นให้ข้น ๆ แล้วนำมารับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชาก็ได้ (เหง้า, ราก)
  16. ช่วยแก้บิด โดยใช้เหง้าสดประมาณ 2 เหง้า นำมาบดจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส คั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม (เหง้าสด)
  17. ช่วยรักษาอาการท้องเดินในเด็ก (เหง้า, ราก)
  18. รากกระชายมีสรรพคุณช่วยแก้โรคกระเพาะ (ราก)
  19. ช่วยแก้อาการบิดมูกเลือด (เหง้า, ราก)
  20. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะพิการ (เหง้า, ราก)

การประกอบอาหาร

ส่วนผสม

1 เสริฟ
  1. ......เครื่องหมักหมู
  2. หมูปนมันสับหยาบ 1/2 กิโล
  3. กระเทียมสดสับ 2 ชต
  4. กระชายสับละเอียด 1 ชต
  5. เกลือป่น 1 ชช
  6. น้ำตาลทราย 1 ชช
  7. .....ส่วนผสม
  8. กระชายซอยเส้น 2 ชต
  9. พริกขี้หนูบุบ 5 เม็ด
  10. พริกแกงเผ็ด 2-3 ชต
  11. กระเทียมสับ 1 ชต
  12. ........เครื่องปรุงรส
  13. น้ำปลา 3 ชต
  14. น้ำตาลปี๊บ 2 ชช

วิธี

20 นาที
  1. หมูสับใส่ชาม ใส่เครื่องหมัก ใช้มือนวดให้เข้ากัน ปั้นเป็นก้อนกลม
  2. ต้มน้ำให้เดือด นำหมูปั้นลงต้ม ไม่ต้องสุกมาก แค่ผิวนอกสุกเป็นลูก ตักขึ้นพักไว้
  3. ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันเล็กน้อย ไฟกลาง ใส่กระเทียมผัดให้หอม ใส่พริกแกงผัดให้หอม ใส่กระชาย ใส่เครื่องปรุงรส ผัดให้เข้ากัน ชิมรสให้เข้มข้น
  4. นำหมูที่ต้มแล้วลงผัดกับพริกแกงให้ซึมเข้าเนื้อ ใส่พริกขี้หนูบุบ ผัดให้เข้ากัน ปิดไฟ ตักใส่จานราดบนข้าวสวย พร้อมเสริฟ
                                      เมนูอื่นๆคลิก

ข่า

                   ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข่า
ข่าเป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน (เหง้า) และยังประกอบไปด้วย ใบ ดอก ผล และเมล็ด โดยจัดอยู่ในตระกูลขิง เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่บ้านเราและอินโดนีเซียนิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารต่าง ๆ ใช้เป็นเครื่องเทศเพื่อช่วยแต่งกลิ่นอาหาร ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงหรือน้ำพริกต่าง ๆ ใช้ปรุงรสในอาหารต่าง ๆ อย่างต้มข่า ต้มยำ ผัดเผ็ด เป็นต้น นอกจากนี้ดอกและลำต้นอ่อนยังใช้รับประทานเป็นผักสดได้อีกด้วย

ประโยชน์ของข่า

  1. ช่วยให้เจริญอาหาร (ข่าหลวง)
  2. ช่วยบำรุงร่างกาย (เหง้า)
  3. ช่วยบำรุงธาตุไฟ (หน่อ)
  4. ข่ามีสาร 1-acetoxychavicol acetate (ACA) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งจากการเหนี่ยวนำของสารก่อมะเร็ง จึงช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งไปด้วยในตัว (เหง้า)
  5. มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง (สารสกัดจากเหง้า)
  6. สารสกัดจากเหง้ามีฤทธิ์ช่วยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (สารสกัดจากเหง้า)
  7. ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ (เหง้าแก่, สารสกัดจากเหง้า)
  8. ช่วยขับเลือดลมให้เดินสะดวก ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและเพิ่มการเผาผลาญของร่างกายให้ดีขึ้น (ราก)
  9. น้ำมันหอมระเหยจากข่ามีประโยชน์อย่างมากต่อระบบทางเดินหายใจ จึงมีส่วนช่วยแก้อาการหวัด ไอ และเจ็บคอได้เป็นอย่างดี (สารสกัดจากเหง้า)
  10. ช่วยแก้ลมแน่นหน้าอก (หน่อ)
  11. ช่วยแก้ไข้สันนิบาตหน้าเพลิง (เหง้าแก่)
  12. ข่าสรรพคุณทางยาช่วยแก้เสมหะ (เหง้า, ราก)
  13. ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน เมารถเมาเรือ ด้วยการใช้เหง้าข่าแก่สด ยาวประมาณ 1 นิ้วฟุตนำมาตำจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส ใช้น้ำยาดื่มครั้งละครึ่งแก้ว หลังอาหาร วันละ 3 เวลา (เหง้า)

การประกอบอาหาร

ส่วนผสม

1 เสริฟ
  1. ขาหมูหนึ่งชิ้น 3 ขีด
  2. ถั่วแขก 2 ขีด
  3. กระเทียมสับหยาบ 1 ชต
  4. เกลือป่น 2 ชช
  5. น้ำตาลทราย 1/2 ชช
  6. ซอสเห็ดหอมหรือซอสหอยนางรม 3 ชต
  7. ผงพะโล้ 1/2 ชช
  8. น้ำมันสำหรับทอด

วิธี

60 นาที
  1. เตรียมขาหมูหั่นสับติดกระดูกตามขวาง 1 ชิ้น น้ำหนักประมาณ 3 ขีด
  2. ต้มน้ำครึ่งลิตรให้เดือด ใส่เกลือ 1 ชช นำถั่วแขกลงลวก 10 วินาที ตักขึ้นพักไว้ นำขาหมูลงต้มต่อ ช้อนฟองออก พอน้ำเริ่มใส ลดไฟอ่อน ใส่ผงพะโล้ ปิดฝา ตุ๋นไฟอ่อน 30-40 นาที ตักขึ้น ทาเกลือครึ่งช้อนชา ผึ่งให้แห้งสนิท
  3. ตั้งกระทะ ใส่ขาหมูลงกระทะ ใส่น้ำมันให้พอท่วมขาหมู เปิดไฟแรง พอน้ำมันเริ่มร้อนจัด ลดไฟอ่อน ทอดไปเรื่อยๆจนกรอบแห้ง ตักขึ้นพักไว้จนเย็น เร่งไฟอีกครั้ง นำขาหมูที่ทอดแล้วหนึ่งครั้ง ทอดซ้ำจนพองกรอบสีสวย โรยเกลือบางๆ
  4. เทน้ำมันที่ทอดออก เหลือประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ เร่งไฟแรง ระหว่างนั้นใส่กระเทียม เกลือป่นครึ่งช้อนชา ลงบนถั่ว พรมน้ำเล็กน้อย ใส่ถั่วลงผัดเร็วๆในกระทะ 15 วินาที ปิดไฟ ใส่ซอสเห็ดหอม ตักใส่จาน เสริฟพร้อมขาหมูทอด



ตะไคร้

              ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตะไคร้

ตะไคร้จัดเป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้า ใบมีลักษณะเรียวยาว ปลายใบมีขนหนาม เป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาประกอบอาหาร โดยตะไคร้แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ ซึ่งเป็นสมุนไพรไทยที่นิยมปลูกทั่วไปในบ้านเรา โดยมีถื่นกำเนิดในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย
ตะไคร้เป็นทั้งยารักษาโรคและยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ฯลฯ

สรรพคุณของตะไคร้

  1. มีส่วนช่วยในการขับเหงื่อ
  2. เป็นยาบำรุงธาตุไฟให้เจริญ (ต้นตะไคร้)
  3. มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร
  4. ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (ต้น)
  5. สารสกัดจากตะไคร้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  1. แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ
  2. ช่วยรักษาอาการไข้ (ใบสด)
  3. ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ (ราก)
  4. น้ำมันหอมระเหยของใบตะไคร้สามารถบรรเทาอาการปวดได้
  5. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
  6. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบสด)
  7. ใช้เป็นยาแก้อาเจียนหากนำไปใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ (หัวตะไคร้)
  8. ช่่วยแก้อาการกษัยเส้นและแก้ลมใบ (หัวตะไคร้)
  9. รักษาโรคหอบหืดด้วยการใช้ต้นตะไคร้
  10. ช่วยแก้อาการเสียดแน่นแสบบริเวณหน้าอก (ราก)
  11. ใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้องและอาการท้องเสีย (ราก)
  12. ช่วยแก้และบรรเทาอาการปวดท้อง
  13. ช่วยรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ (หัวตะไคร้)
  14. ช่วยในการขับน้ำดีมาช่วยในการย่อยอาหาร
  15. น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้มีส่วนช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ได้

ประโยชน์ของตะไคร้

  1. นำมาใช้ทำเป็นน้ำตะไคร้หอม น้ำตะไคร้ใบเตย ช่วยดับร้อนแก้กระหายได้เป็นอย่างดี
  2. ช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา
  3. มีส่วนช่วยในการบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  4. มีส่วนช่วยในการบำรุงสมองและเพิ่มสมาธิ
  5. สามารถนำมาใช้ทำเป็นยานวดได้
  1. ช่วยแก้ปัญหาผมแตกปลาย (ต้น)
  2. มีฤทธิ์เป็นยาช่วยในการนอนหลับ
  3. การปลูกตะไคร้ร่วมกับผักชนิดอื่น ๆ จะช่วยป้องกันแมลงได้เป็นอย่างดี
  4. นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของสารระงับกลิ่นต่าง ๆ
  5. ต้นตะไคร้ช่วยดับกลิ่นคาวหรือกลิ่นคาวของปลาได้เป็นอย่างดีฃ

การประกอบอาหาร

วิธีทําน้ําตะไคร้หอม

  1. สรรพคุณตะไคร้เตรียมวัตถุดิบดังนี้ ตะไคร้ 1 ต้น / น้ำเชื่อม 15 กรัม / น้ำเปล่า 240 กรัม
  2. ล้างตะไคร้ให้สะอาด แล้วนำมาหั่นเป็นท่อน ทุบให้แตก
  3. ใส่ลงหม้อต้มกับน้ำให้เดือด จนกระทั่งน้ำตะไคร้ออกมาปนกับน้ำจนเป็นสีเขียว
  4. รอสักครู่แล้วยกลง หลังจากนั้นกรองเอาตะไคร้ออกแล้วเติมน้ำเชื่อมให้ได้รสตามพอใจ
เสร็จแล้ววิธีทำน้ำตะไคร้

วิธีทําน้ําตะไคร้ใบเตย

  1. น้ำตะไคร้การทําน้ําตะไคร้ใบเตยนั้นอย่างแรกให้เตรียมวัตถุดิบดังนี้ ตะไคร้ 2 ต้น / ใบเตย 3 ใบ / น้ำ 1-2 ลิตร / น้ำตาลแดง 2 ช้อนชา (จะใส่หรือไม่ก็ได้)
  2. นำตะไคร้มาทุบให้แหลกพอประมาณ แล้วใช้ใบเตยมัดตะไคร้ไว้ให้เป็นก้อน
  3. ใส่ตะไคร้และใบเตยลงไปในหม้อแล้วเติมน้ำ 1 ถึง 2 ลิตร แล้วต้มให้เดือดสักประมาณ 5 นาที เป็นอันเสร็จสำหรับวิธีการทําน้ํา ตะไคร้
  4. โดยตะไคร้และใบเตยชุดเดียวกัน สามารถเติมน้ำต้มใหม่ได้ 2-3 รอบ แต่รสอาจจืดจางลงไปบ้าง นำมาดื่มแทนน้ำช่วยเพิ่มความสดชื่น แถมช่วยบำรุงสุขภาพอีกด้วย

                                      อ้างอิง คลิก

ดีปลี

สมุนไพรดีปลี สมุนไพรเก่าแก่ที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง มีหลักฐานการจดบันทึกมานานกว่า 4,000 ปี มีแหล่งผลิตใหญ่อยู่ที่ประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย สำหรับในประเทศไทยบ้านเราทางภาคใต้และภาคเหนือนิยมใช้ผลดีปลีมาเป็นเครื่องเทศแทนพริกและพริกไทย โดยทั้งดีปลีและพริกไทยต่างก็มีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุไฟในการย่อยอาหารเหมือน ๆ กัน แต่ดีปลีจะดีกว่าในเรื่องของลมเบ่งของมดลูก หรือลมที่ค้างในลำไส้ รวมไปถึงอาการกำเริบของเสมหะและลมปอด ส่วนพริกไทยนั้นจะดีกับลมที่ขับปัสสาวะ

    ใบดีปลี

สรรพคุณของดีปลี

  1. เชื่อกันว่าดีปลีมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลังและช่วยบำรุงกำหนัด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  2. ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ด้วยการใช้ดอกดีปลี 10 ดอก หัวแห้วหมู 10 หัว พริกไทย 10 เม็ด นำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งแท้ ใช้รับประทานก่อนนอนทุกคืน (ดอก)
  3. ดอกดีปลีช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ดอก, ผลแก่จัด, ราก)
  4. ผลแก่จัดช่วยบำรุงธาตุไฟ แก้ธาตุไฟหย่อนหรือพิการ ช่วยรักษาอาการกำเริบของธาตุน้ำและธาตุลม (ผลแก่จัด)
  5. ช่วยแก้ธาตุพิการ แก้ธาตุไม่ปกติ แก้ปฐวีธาตุพิการ แก้วิสติปัฏฐี แก้ปัถวีธาตุ 20 ประการ (ผล, ดอก)
  6. ใช้เป็นยากระจายลม ระบายความเจ็บปวด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  7. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ดอก, เถา)
  8. ผงของผลมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสเผ็ด ขม ปร่า สรรพคุณช่วยขับน้ำลายและทำให้ลิ้นชา (ผล)
  9. ช่วยแก้ลมอัมพฤกษ์ (เถา)
  10. ช่วยแก้ลมวิงเวียน ด้วยการใช้ดอกแก่นำมาต้มน้ำดื่ม (ดอก, ผลแก่จัด, ราก)
  1. ใช้เป็นยาระงับแก้อาการนอนไม่หลับ (ผล)ช่วยระงับอชินโรคหรือโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หาย หรือมักเป็น ๆ หาย ๆ (ผล)
  2. ช่วยแก้ตัวร้อน (ราก)
  3. ช่วยแก้ไข้เรื้อรังหรืออาการไข้ที่มักเป็น ๆ หาย ๆ ด้วยการใช้ดอกดีปลีล้างสะอาด นำมาบดหรือตำพอหยาบ ๆ ประมาณครึ่งแก้ว นำมาต้มกับน้ำ 4 แก้ว จนเหลือ 1 แก้ว แล้วกรองเอาแต่น้ำมาดื่มกินขณะท้องว่างวันละ 2 ครั้ง และสูตรนี้ยังช่วยลดอาการม้ามโตได้อีกด้วย (ดอก)
  4. ช่วยแก้อาการหวัด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
  5. ช่วยแก้อาการหืดไอ (ดอก, ผลแก่จัด)
  6. ช่วยแก้หืดหอบ (ดอก, ราก)
  7. ช่วยแก้อาการไอหรือลดอาการไอ มีอาการระคายคอจากเสมหะ ด้วยการใช้ผลแก่แห้งครึ่งผลนำมาฝนกับน้ำมะนาว แทรกเกลือเล็กน้อยแล้วใช้กวาดคอหรือใช้จิบบ่อย ๆ (ดอก, ผลแก่จัด)
  8. ช่วยแก้หลอดลมอักเสบ (ผลแก่จัด)
  9. ช่วยแก้อาการเจ็บในลำคอ ด้วยการใช้ดอกดีปลี 3 ดอก ผิวมะนาว 1 ลูก หัวกระเทียม 3 กลีบ และพริกไทยล่อน 3 เม็ด นำทั้งหมดมาตำให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำมะนาวและคลุกให้เข้ากัน นำมาปั้นเป็นลูกกลอนขนาดเท่าเม็ดพุทรา แล้วใช้อมบ่อย ๆ (ดอก)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของดีปลี

สมุนไพรไทยดีปลี มีฤทธิ์ต้านเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ช่วยต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ช่วยเสริมฤทธิ์ยานอนหลับ ช่วยต่อต้านออกซิเดชัน ต้านพิษต่อตับ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยทำให้กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว และมีสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ที่มีฤทธิ์ทำให้สัตว์ทดลองแท้ง ดังนั้นสำหรับสตรีตั้งครรภ์จึงไม่ควรรับประทาน

คำแนะนำในการรับประทานดีปลี

  • ไม่ควรบริโภคดีปลีในปริมาณที่มากเกินไป เพราะอาจจะทำให้กระเพาะอักเสบ แสบทวารเวลาขับถ่ายได้
  • สำหรับผู้ที่เป็นไข้ ไม่ควรรับประทานดีปลี เพราะจะทำให้เป็นร้อนในด้วย
  • และสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ห้ามรับประทานดีปลีเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้แท้งบุตรได้

ประโยชน์ของดีปลี

  1. ผลอ่อนดีปลีสามารถใช้รับประทานเป็นผักสดได้
  2. ผลแก่สามารถนำมาใช้ตำน้ำพริกแทนพริกได้ หรือในบางท้องถิ่นก็นำมาใช้แต่งใส่ในผักดองเช่นเดียวกับพริก
  3. ยอดอ่อนดีปลีสามารถนำมาใช้ใส่ในข้าวยำได้
  4. ผลดีปลีแห้งมีรสเผ็ดร้อนขม สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องในการประกอบอาหาร ด้วยการนำผลสุกดีปลีมาตากแห้งแล้วใช้ปรุงรสแกงคั่ว หรือแกงเผ็ด เพื่อใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้ดี และยังช่วยปรุงรสปรุงกลิ่นให้อาหารน่ารับประทาน นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้แต่งกลิ่นผักดองได้อีกด้วย
  5. เครื่องเทศดีปลีสามารถช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดี
  6. ช่วยถนอมอาหารไม่ให้เกิดการบูดเน่าได้
  7. นอกจากจะปลูกไว้เป็นเครื่องเทศและเป็นยาสมุนไพรแล้ว ยังปลูกไว้เป็นไม้ประดับเพื่อชมใบสีเขียวสดดูชุ่มชื่น หรือปลูกเพื่อดูผลที่เป็นสีเหลืองจวนสุกก็ได้เช่นกัน

วันพุธที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560

พริกไทย

               ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พริกไทย
พริกไทย
พริกไทย มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า พริกขี้นก, พริกไทยดำ, พริกไทยขาว, พริกไทยล่อน, พริกน้อย (ภาคเหนือ), พริก (ใต้) เป็นต้น
ลักษณะพริกไทย ต้นพริกไทยเป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน จัดอยู่ในประเภทไม้เลื้อย สูงประมาณ 5 เมตร ลักษณะของลำต้นจะเป็นข้อ ๆ ลักษณะของใบพริกไทยจะมีสีเขียวสด ใบใหญ่คล้ายใบโพ ส่วนลักษณะของดอกพริกไทยจะมีขนาดเล็ก จะออกช่อตรงข้อของลำต้น มีลักษณะเป็นพวง ซึ่งจะมีเมล็ดกลม ๆ ติดกันอยู่เป็นพวง มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย บริเวณเทือกเขาทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับบ้านเราพริกไทยถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง โดยนิยมปลูกพริกไทยกันมากในจังหวัดจันทบุรี ตราด และระยอง

ประโยชน์ของพริกไทย

  1. เมล็ดพริกไทยมีสารฟีนอลิกและสารพิเพอรีน ซึ่งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ (เมล็ด)
  2. เมล็ดพริกไทยมีสารพิเพอรีน (Piperine) ซึ่งเป็นสารอัลคาลอยด์ที่มีส่วนช่วยรักษาและป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุได้ (อ้างอิง : รศ.ดร.อรุณศรี ปรีเปรม อาจารย์จากคณะเภสัชศาสตร์) (เมล็ด)
  3. ช่วยป้องกันและต่อต้านสารก่อมะเร็ง ช่วยเร่งการทำงานของตับให้ทำลายสารพิษได้มากขึ้น (เมล็ด)
  4. เมล็ดพริกไทยมีฤทธิ์ในการช่วยกระตุ้นประสาท (เมล็ด)
  5. ช่วยแก้โรคลมบ้าหมูหรือลมชักได้ (เมล็ด)
  6. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เมล็ด)
  7. ช่วยทำให้เจริญอาหาร ทำให้ลิ้นของผู้สูงอายุรับรสได้ดียิ่งขึ้น
  8. ช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับ (เมล็ด)
  9. ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายและเสริมภูมิต้านทานไปด้วยในตัว (เมล็ด)
  10. ช่วยแก้ตาแดงเนื่องจากความดันโลหิตสูง(ดอก)
  1. ช่วยระงับอาเจียน (ดอก)
  2. ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้พริกไทย พริกหาง นำมาบดเป็นผงผสมยาขี้ผึ้ง แล้วปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ นำมาใช้อุดฟันตรงบริเวณที่ปวด (เมล็ด)
  3. ช่วยขับเสมหะ เปิดคอให้โล่งขึ้น (เมล็ด)
  4. ช่วยแก้เสมหะในทรวงอก แก้ลมพรรดึก (เถา)
  5. ช่วยบรรเทาอาการและแก้อาการไอ หอบหืด สะอึก (เมล็ด)
  6. ช่วยแก้อติสารหรืออาการลงแดง (เถา)


การประกอบอาหาร

ส่วนผสม

4 เสริฟ
  1. .ซี่โครงหมูอ่อน 1 กิโลกรัมตัดพอคำ ล้างให้สะอาด 1
  2. . กระเทียมพริกไทยรากผักชีโขลกตามชอบ 2
  3. . เกลือป่น 1 ช้อนชา 3
  4. .น้ำสะอาด 4
  5. .ซอสแม็กกี้ 5

วิธี

60นาที
  1. ตั้งกระทะใส่ซี่โครงหมูที่เราล้างแล้วลงไป โรยเกลือป่น ใส่น้ำสะอาดให้ท่วมซี่โครงหมู
  2. เปิดไฟแรงเคี่ยวซี่โครงหมูไปจนน้ำแห้ง
  3. ผัดซี่โครงหมูในกระทะที่เริ่มมีน้ำมันออกมาให้สุกเหลือง ถ้าน้ำมันน้อยสามารถเติมน้ำมันได้ค่ะ
  4. ใส่รากผักชี กระเทียมพริกไทย ที่เราโขลกไว้เรียบร้อยแล้วลงไปผัดให้หอมโรยแม็กกี้ ชิมรสให้พอดี
  5. ตักใส่จานเสิร์ฟ จะได้ซี่โครงหมูทอดที่นุ่มอร่อย
                                       
                                   เมนูอื่นๆคลิก