วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560

แมงลัก

                                            แมงลัก
แมงลัก สมุนไพรแมงลัก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ก้อมก้อข้าว (ภาคเหนือ), มังลัก อีตู่ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น
แมงลักเป็นพืชล้มลุกในสกุลกะเพราและโหระพา ลักษณะของต้นจะคล้ายกับต้นกะเพรา ต่างกันที่กลิ่นและสีใบจะอ่อนกว่า มีลำต้นสูงประมาณ 30-80 เซนติเมตร มีกลิ่นหอมทุกส่วน ใบเดี่ยว ใบเรียงตรงข้ามเป็นคู่ ๆ ดอกและช่อจะออกที่ปลายยอด อาจเป็นชื่อเดี่ยวหรือแตกออกเป็นช่อย่อย ๆ ดอกจะบานจากล่างไปบน กลีบดอกสีขาวแบ่งเป็น 2 ปากและร่วงง่าย เกสรตัวผู้จะยื่นยาวกว่ากลีบดอก ดอกย่อยออกโดยรอบก้านก่อเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมีดอกย่อย 6 ดอก แบ่งเป็น 2 ส่วน ดอกตรงกลางจะบานก่อนและช่อดอกย่อยที่อยู่ชั้นล่างสุดของก้านช่อดอกจะบานก่อนเช่นกัน ผล 1 ดอกมีผล 4 ผล มีขนาดเล็ก เรียกว่าเม็ดแมงลัก ซึ่งมีลักษณะกลมรีและมีสีดำ
ต้นแมงลัก ส่วนที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ก็คือเมล็ดแมงลักและใบแมงลัก ซึ่งในส่วนของใบนั้นเรานิยมนำมาใช้ประกอบอาหารหรือใส่เครื่องแกงต่าง ๆ เช่น แกงเลียง เป็นต้น ส่วนเมล็ดก็นำมาใช้ทำเป็นขนมอื่น ๆ ได้หรือนำไปผสมกับเครื่องดื่มก็ได้ เช่น น้ำเต้าหู้ น้ำขิง น้ำใบเตย (โจ๊กก็ได้นะ) โดยสามารถรับประทานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และยังปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรอีกด้วย
เม็ดแมงลัก
Tip : วิธีสังเกตความแตกต่างระหว่างแมงลักกับโหระพาง่าย ๆ ก็คือ ใบแมงลักจะเล็กกว่าใบโหระพา มีลำต้นสีเขียวอ่อนเกือบขาว ส่วนใบโหระพาลำต้นจะออกสีม่วงแดง เมื่อนำมาเทียบกันแล้วโหระพาจะต้นใหญ่กว่าแมงลัก และใบแมงลักจะเป็นรูปรีออกตรงข้ามกัน ปลายและโคนของใบแหลม ขอบใบเรียวหรือหยักมน ๆ ซึ่งต่างจากใบโหระพาที่ขอบใบจะหยักเป็นฟันเลื่อยห่าง ๆ
ในประเทศไทยนั้นแมงลักจะมีสายพันธุ์หลักเพียงสายพันธุ์เดียวนั่นก็คือ “ศรแดง” ที่เหลือก็จะเป็นพันธุ์ผสมหรือพันทาง ลักษณะของพันธุ์ศรแดงที่ดีนั้นใบต้องใหญ่พอดี ไม่เล็กเกินไป ดอกสีขาวเป็นชั้น ๆ คล้ายฉัตร โดยข้อมูลจากกองโภชนาการกรมอนามัยระบุไว้ว่า แมงลัก 100 กรัมจะมีธาตุแคลเซียม 140 mg. และมีวิตามินเอ 590.56 mcg. ที่สูงกว่ากะเพราและโหระพา แต่กรมส่งเสริมการเกษตรระบุว่ามี วิตามินเอ 9,164 IU และ วิตามินบี 2 0.14 mg. ซึ่งน้อยกว่ากะเพราและโหระพา แต่มีวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆ ที่สูงกว่า เช่น ธาตุแคลเซียม 350 mg. ธาตุฟอสฟอรัส 86 mg. ธาตุเหล็ก 4.9 mg. วิตามินซี 78 mg. และวิตามินบี 1 0.3 mg. เป็นต้น
สำหรับใครที่เพิ่งเคยรับประทานเม็ดแมงลักในช่วง 2-3 วันแรกอาจจะยังไม่เห็นผลเท่าไหร่ อาจเป็นเพราะว่าร่างกายกำลังปรับตัว แต่หลังจากรับประทานไปสักระยะหนึ่งก็จะดีขึ้นเอง แต่ถ้าหากรับประทานไปสักระยะหนึ่งแล้วไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงก็ต้องกลับมาพิจารณาทีละจุดว่าเราใส่น้ำในเม็ดแมงลักน้อยเกินไปหรือไม่ ถ้าไม่ก็ให้ใส่เยอะ ๆ หรือรับประทานอย่างถูกวิธีแล้วหรือไม่ (ควรรับประทานหลังอาหารเย็นประมาณ 3 ชั่วโมงกำลังดี) และคุณขับถ่ายในช่วงเวลาตี 5 ถึง 7 โมงเช้าหรือไม่ ถ้าไม่ก็จะได้ผลน้อย หรือคุณรีบร้อนเกินไป ใช้เวลาขับถ่ายน้อย พยายามเร่งเวลาในการขับถ่ายทำให้ร่างกายไม่ผ่อนคลาย ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่สำคัญเช่นกัน ดังนั้นก็อย่าเพิ่งรีบท้อกันไปก่อนละ

โทษของเม็ดแมงลัก

  1. การรับประทานเม็ดแมงลักในปริมาณมาก ๆ อาจจะเกิดอาการแน่นท้องรู้สึกไม่สบายตัวได้
  2. การรับประทานเม็ดแมงลักในขณะที่ยังพองตัวไม่เต็มที่ อาจจะเกิดการดูดน้ำจากกระเพาะอาหารทำให้เม็ดแมงลักจับตัวกันเป็นก้อนและอุดตันในลำไส้ ซึ่งอาจทำให้ท้องผูกได้เช่นกันถ้ารับประทานแบบผิดวิธี
  3. ไม่ควรรับประทานเม็ดแมงลักพร้อมกับกับยาอื่น ๆ เพราะจะมีผลทำให้ร่างกายดูดซึมยาเหล่านั้นได้ไม่ดีและน้อยลง ดังนั้นควรทานยาก่อนสักประมาณ 15-30 นาทีแล้วค่อยรับประทานเม็ดแมงลักตาม
  4. สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก การรับประทานเม็ดแมงลักแทนมื้ออาหารหลักควรรับประทานเป็นบางมื้อ เพราะอาจจะทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆได้
  5. อีกสิ่งที่ต้องระวังไว้ก็คือการเลือกซื้อ ควรเลือกซื้อเม็ดแมงลักที่มีความสะอาดได้มาตรฐานน่าเชื่อถือ อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดมิดชิด เก็บไว้ในที่เหมาะสม เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว อาจมีเชื้อราหรือสารพิษอย่างอะฟลาทอกซินปนเปื้อนมาด้วยก็ได้ (สารอะฟลาทอกซิน เมื่อบริโภคจำนวนมากอาจทำให้อาการท้องเดิน อาเจียน และสะสมเป็นสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งตับ)
  6. ประโยชน์ของเม็ดแมงลัก

    1. เม็ดแมงลัก ลดความอ้วน เพราะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ มีสรรพคุณในการเปลี่ยนคอเลสเตอรอลไปเป็นกรดน้ำดี และยังช่วยเพิ่มการขับออกของกรดน้ำดีด้วย ซึ่งจะไปลดเฉพาะคอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL) แต่ไม่มีผลใด ๆ กับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL)
    2. เม็ดแมงลัก ลดน้ําหนัก ตัวช่วยสำหรับผู้ที่ต้องควบคุมน้ำหนักและความอ้วน เนื่องจากเม็ดแมงลักไม่ก่อให้เกิดพลังงาน และมันสามารถพองตัวได้มากถึง 45 เท่า ! เมื่อนำมารับประทานเป็นอาหาร (ควรรับประทานแค่บางมื้อต่อวัน เพื่อป้องกันโรคขาดสารอาหาร) หรือจะรับประทานก่อนอาหารเพื่อทำให้กระเพาะไม่ว่างและรู้สึกอิ่มเป็นการช่วยควบคุมปริมาณอาหารที่รับประทานไปด้วยเป็นอย่างดี สำหรับวิธีชงเม็ดแมงลักก็คือใช้เม็ดแมงลักประมาณ 2 ช้อนชานำมาแช่น้ำ 1 แก้วใหญ่ทิ้งไว้จนพองตัวเต็ม นำมาผสมกับน้ำร้อน 1 แก้วแล้วนำมารับประทาน (หรือจะผสมกับน้ำผึ้ง น้ำสมุนไพร หรือนมก็ได้)
    3. เมื่อรับประทานเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจได้อีกด้วย
    4. เม็ดแมงลักเป็นอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะช่วยทำให้การดูดซึมของน้ำตาลลดลง เนื่องจากเม็ดแมงลักทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ช้าลงอยู่แล้ว
    5. เม็ดแมงลักเป็นอาหารที่รับประทานง่าย กลืนง่าย ลื่นคอ และเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยรับประทานอาหารที่มีกากใยอย่างพวก ผักผลไม้
    6. ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้เป็นปกติและมีประสิทธิภาพ ขับถ่ายสะดวก
    7. เม็ดแมงลัก สรรพคุณล้างลำไส้ ช่วยดีท็อกซ์แก้ปัญหาอุจจาระตกค้าง ซึ่งเป็นสาเหตุมาจากการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย มีพยาธิ ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ระบบดูดซึมเสีย และขับถ่ายไม่เป็นเวลา (ช่วงเช้า 05.00 – 07.00 น.)

การประกอบอาหาร

ส่วนผสม

  1. แผ่นแป้งเกี๊ยวซ่า ซื้อได้ที่TOPS Foodland เทสโก้
  2. หมูสับ
  3. ขิงขูด
  4. ใบแมงลัก
  5. ซอสโชยุ
  6. กระเทียมสับ
  7. พริกไทย

วิธี

  1. 1.ผสมทุกอย่างยกเว้นแผ่นแป้งเข้าด้วยกัน เรารู้ว่าทุกคนมีสติ แต่ก็อยากเขียนไว้    เฉยๆ
  2. 2.ปริมาณของส่วนผสมไส้นั้นไม่ตายตัว ดังคำที่พ่อขุนรามคำแหงไม่ได้กล่าว      "ใครใคร่เผ็ดร้อนใส่ขิงเยอะ ใครใคร่เอามันใส่กระเทียมเยอะ ใครใคร่เอาความ    หอมใส่พริกไทยเยอะ" เพราะแต่ละคนชอบทานไม่เหมือนกัน เอาตามที่  สบายใจ ผสมจนคิดว่าหมูกับกระเทียมและพริกไทยเริ่มแยกไม่ออกแล้วก็พอ
  3. 3.วางแผ่นเเป้งเกี๊ยวซ่าบนพิมพ์ไดโซะ (มีขาย60บาท พื้นที่โฆษณา) จะช่วยคุณ    พ่อบ้านแม่บ้าน ไม่ต้องเครียดกับการจีบแป้ง นวัตกรรมจากญี่ปุ่นทำที่จีนนิดี      จริงๆ
  4. 4.จะทอดหรือนึ่งตามสะดวก แต่วันนี้เป็นนึ่งเพราะย่าทำให้ นางทอดแบบฮาจิบัง  ไม่เป็น จิ้มกับน้ำจิ้มซีฟู้ดก็ได้ (เป็นคนชอบน้ำจิ้มซีฟู้ดเพราะกินกับอะไรก็อร่อย-  ความเชื่อส่วนบุคคลควรใช้จักรยานในการรับฟัง)
  5. 5.อาจเปลี่ยนเนื้อหมูเป็นทูน่าหรือเนื้อสัตว์อื่นๆตามชอบ ไม่แนะนำให้เป็นสัตว์    สงวนเพราะหายาก และมีประเด็นกับองค์กรพิทักษ์สัตว์ได้ 

กระเพรา

      ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กระเพรา

กระเพรา
สมุนไพรกะเพรา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่), ห่อกวอซู ห่อตูปลู อิ่มคิมหลำ (แม่ฮ่องสอน), กะเพราขน กะเพราขาว กะเพราแดง (ภาคกลาง), อีตู่ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น
กะเพราเป็นไม้ล้มลุกที่มีความสูงของต้นประมาณ 30-60 เซนติเมตร โคนต้นออกแข็ง กะเพราแดงจะมีลำต้นสีแดงอมเขียว กะเพราขาวมีลำต้นสีเขียวอมขาว และยอดอ่อนมีขนสีขาว มีใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวรูปรีออกตรงข้ามกัน ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนสีขาว ส่วนดอกกะเพราจะออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนจะเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก ปากบน 4 แฉก ปากล่าง 1 แฉกและยาวกว่าปากบน มีขนประปราย เกสรตัวผู้มี 4 อัน ส่วนผลเป็นผลแห้ง เล็ก เมื่อแตกออกจะมีเมล็ดสีดำถึงน้ำตาลคล้ายรูปไข่
กะเพราจัดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณทางยาช่วยรักษาโรคได้หลายชนิด ทั้งตำรับยาไทยและต่างประเทศก็ระบุว่ากะเพราเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณหลายด้าน อย่างตำราสมุนไพรไทยบ้านเราก็บรรยายสรรพคุณของกะเพราเอาไว้ว่า รสฉุน ร้อน ช่วยขับลมแก้ซาง แก้ท้องขึ้น จุกเสียดแน่นท้อง ปวดท้อง ช่วยในการย่อยอาหาร และช่วยบำรุงธาตุ เป็นต้น และในต่างประเทศก็มีการใช้กะเพราในการรักษาโรคกันอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าบ้านเราเสียอีก โดยเฉพาะประเทศอินเดีย เขาถือว่ากะเพราเป็นยารักษาโรคได้ทุกโรค และยังจัดเป็นราชินีแห่งสมุนไพร (The Queen of herbs) หรือเป็นยาอายุวัฒนะ (The Elixir of life) เลยก็ว่าได้
กะเพรามีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ กะเพราแดงและกะเพราขาว โดยกะเพราแดงจะมีฤทธิ์ที่แรงกว่ากะเพราขาว ในสรรพคุณทางยาจึงนิยมใช้กะเพราแดง โดยส่วนที่นำมาใช้ทำเป็นยาสมุนไพรก็ได้แก่ ส่วนของใบ ยอดกะเพรา (ทั้งสดและแห้ง) และทั้งต้น แต่ถ้านำมาใช้ประกอบอาหารจะนิยมใช้กะเพราขาวเป็นหลัก

กะเพรา

กะเพรา เขียนอย่างไร ? ระหว่าง กะเพรา หรือ กระเพรา หรือ กะเพา ? ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ นั้นระบุว่าที่ถูกต้องก็คือว่า กะเพรา [-เพรา] ที่เป็นไม้ล้มลุกใช้ปรุงเป็นอาหาร ส่วนคำว่า “กะเพา” จะหมายถึงเครื่องสานชนิดหนึ่ง และคำว่า “กระเพรา” ไม่พบในพจนานุกรมแต่อย่างใด สรุปก็คือ เขียนว่า “กะเพรา
กะเพรา ชื่อสามัญ Holy basil, Sacred basil
กะเพรา ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum tenuiflorum L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ocimum sanctum L.) จัดอยู่ในวงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)
สมุนไพรกะเพรา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่), ห่อกวอซู ห่อตูปลู อิ่มคิมหลำ (แม่ฮ่องสอน), กะเพราขน กะเพราขาว กะเพราแดง (ภาคกลาง), อีตู่ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น
กะเพราเป็นไม้ล้มลุกที่มีความสูงของต้นประมาณ 30-60 เซนติเมตร โคนต้นออกแข็ง กะเพราแดงจะมีลำต้นสีแดงอมเขียว กะเพราขาวมีลำต้นสีเขียวอมขาว และยอดอ่อนมีขนสีขาว มีใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวรูปรีออกตรงข้ามกัน ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนสีขาว ส่วนดอกกะเพราจะออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนจะเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก ปากบน 4 แฉก ปากล่าง 1 แฉกและยาวกว่าปากบน มีขนประปราย เกสรตัวผู้มี 4 อัน ส่วนผลเป็นผลแห้ง เล็ก เมื่อแตกออกจะมีเมล็ดสีดำถึงน้ำตาลคล้ายรูปไข่
กะเพราจัดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณทางยาช่วยรักษาโรคได้หลายชนิด ทั้งตำรับยาไทยและต่างประเทศก็ระบุว่ากะเพราเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณหลายด้าน อย่างตำราสมุนไพรไทยบ้านเราก็บรรยายสรรพคุณของกะเพราเอาไว้ว่า รสฉุน ร้อน ช่วยขับลมแก้ซาง แก้ท้องขึ้น จุกเสียดแน่นท้อง ปวดท้อง ช่วยในการย่อยอาหาร และช่วยบำรุงธาตุ เป็นต้น และในต่างประเทศก็มีการใช้กะเพราในการรักษาโรคกันอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าบ้านเราเสียอีก โดยเฉพาะประเทศอินเดีย เขาถือว่ากะเพราเป็นยารักษาโรคได้ทุกโรค และยังจัดเป็นราชินีแห่งสมุนไพร (The Queen of herbs) หรือเป็นยาอายุวัฒนะ (The Elixir of life) เลยก็ว่าได้
กะเพรามีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ กะเพราแดงและกะเพราขาว โดยกะเพราแดงจะมีฤทธิ์ที่แรงกว่ากะเพราขาว ในสรรพคุณทางยาจึงนิยมใช้กะเพราแดง โดยส่วนที่นำมาใช้ทำเป็นยาสมุนไพรก็ได้แก่ ส่วนของใบ ยอดกะเพรา (ทั้งสดและแห้ง) และทั้งต้น แต่ถ้านำมาใช้ประกอบอาหารจะนิยมใช้กะเพราขาวเป็นหลัก
กะเพรา

สรรพคุณของกะเพรา

  1. ประโยชน์ของกะเพราใช้ทำเป็นยาอายุวัฒนะ (the elixir of life)
  2. ช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่นและป้องกันอาการหวัดได้ (ใบ)
  3. กะเพราเป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพรหลายชนิด เช่น ยารักษาตานขโมยสำหรับเด็ก ยาแก้ทางเด็ก ฯลฯ
  4. รากแห้งนำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม ช่วยแก้โรคธาตุพิการ (ราก)
  5. ช่วยบำรุงธาตุไฟ (ใบ)
  6. ช่วยแก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน (ใบ)
  7. ช่วยแก้อาการปวดด้วยการใช้ใบกะเพรานำมาคั้นรับประทานสด 1 ถ้วยตะไล จะช่วยแก้อาการปวดมวนท้องได้เป็นอย่างดี (ใบ)
  8. ช่วยขับลมแก้อาการปวดท้องอุจจาระ (ใบ)
  9. ใบกะเพรามีสรรพคุณช่วยขับลมในกระเพาะ (ใบ)
  10. ช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง (ใบ)
  11. ใช้เป็นยารักษาหูด ด้วยการใช้ใบกะเพราแดงสดนำมาขยี้แล้วทาบริเวณที่เป็นหูดเช้า-เย็น จนกว่าหัวหูดจะหลุดออกมา โดยระวังอย่าให้เข้าตาและถูกบริเวณผิวที่ไม่ได้เป็นหูด เพราะจะทำให้เนื้อดีเน่าเปื่อยและรักษาได้ยาก (ใบสด)
  12. ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ ด้วยการใช้ใบกะเพรานำมาตำผสมกับเหล้าขาว แล้วนำมาทาบริเวณที่ถูกกัด ห้ามนำมารับประทานเด็ดขาดเพราะจะมีสารยูจีนอล (Eugenol) ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหารและอาจถึงขั้นโคม่าได้ (ใบ)
  13. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคและช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดได้ (น้ำมันใบกะเพรา)
  14. มีงานวิจัยพบว่ากะเพราสามารช่วยยับยั้งสารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ซึ่งเป็นสารพิษที่มักพบเจือปนในอาหารซึ่งเป็นสารก่อโรคมะเร็งได้ (สารสกัดจากกะเพรา)
  15. ใบกะเพรามีฤทธิ์ในการช่วยขับไขมันและน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกาย ช่วยลดระดับไขมันในร่างกายและช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้ โดยมีการใช้ใบกะเพราในกระต่ายทดลอง โดยให้กระต่ายกินใบกะเพราติดต่อ 4 สัปดาห์พบว่าระดับไขมันโดยรวมลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันเลว (LDL) ลดลง แต่ไขมันชนิดดี (HDL) กลับเพิ่มขึ้น
  16. ช่วยเพิ่มน้ำนมให้สตรีหลังคลอดบุตร ด้วยการใช้ใบกะเพราสดประมาณ 1 กำมือ นำมาใส่แกงเลียงรับประทานบ่อย ๆ ในช่วงหลังคลอด (ใบ)
  17. นำเมล็ดไปแช่น้ำจะพองตัวเป็นเมือกขาว นำมาใช้พอกบริเวณตา เมื่อมีฝุ่นละอองหรือเศษผงเข้าตา ผงหรือฝุ่นละอองก็จะหลุดออกมา โดยไม่ทำให้ตาของเรานั้นช้ำอีกด้วย (เมล็ด)

การประกอบอาหาร

ผัดกะเพรากุ้งหมูสับ

ส่วนผสม

  1. หมูสับ 150 กรัม
  2. กุ้งสด 200 กรัม
  3. กระเทียม 5 กลีบ
  4. พริกสดสีแดง (เพิ่มลดตามชอบ) 10 เม็ด
  5. ซอสเห็ดหอม 2 ช้อนโต๊ะ
  6. น้ำปลา 1 +1/2 ช้อนชา
  7. น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
  8. ซอสปรุงรส 1/2 ช้อนชา
  9. น้ำเปล่า 2 ช้อนโต๊ะ
  10. ใบกะเพรา 1/4 ถ้วยตวง
  11. น้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ
  12. ซีอิ๊วดำ 1/4 ช้อนชา

วิธี

    1. โขลกกระเทียม พริกสดสีแดง พอแหลกตักขึ้นพักไว้
    2. ตั้งกระทะใส่น้ำมันพืชพอร้อน ใส่เครื่องที่โขลกลงผัดพอหอม ใส่หมูสับ และกุ้งลงผัดพอสุก ปรุงรสด้วยซอสเห็ดหอม น้ำปลา น้ำตาลทราย ซีอิ๊วขาว ซอสปรุงรส ซีอิ๊วดำ น้ำเปล่าลงผัดพอเข้ากัน ใส่ใบกะเพรา ลงผัดพอเข้ากันตักใส่ภาชนะ จัดเสิร์ฟ

วันอังคารที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2560

พริก

พลูคาว (Plu Kaow) ชื่อ
ความเผ็ดของพริกมาจากสารชื่อ “แคปไซซิน” (Capsaicin) ซึ่งจะมีอยู่มากใยบริเวณเยื่อแกนกลางสีขาว (คือส่วนเผ็ดมากที่สุด) ส่วนเปลือกและเมล็ดนั้นจะมีสารนี้น้อย ซึ่งคนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าส่วนเมล็ดและเปลือกคือส่วนที่เผ็ดที่สุด และสารชนิดนี้จะทนทานต่อความร้อนและความเย็นอย่างมาก แม้จะนำมาต้มให้สุดหรือแช่แข็งก็ไม่ได้ทำให้สูญเสียความเผ็ดไปแต่อย่างใด โดยเราสามารถเรียงลำดับความเผ็ดของพริกจากมากไปหาน้อยได้ คือ พริกขี้หนู > พริกเหลือง > พริกชี้ฟ้า > พริกหยวก > พริกหวาน เป็นต้น
หน่วยวัดความเผ็ดเดิมคือ สโควิลล์ (Scoville) (เป็นคำที่ตั้งขึ้นตามชื่อผู้คิดค้นวิธีการวัดระดับ ซึ่งก็คือ วิลเบอร์ สโควิลล์ นักเคมีชาวอเมริกัน) โดยพริกขี้หนูสวนบ้านเราจะมีค่าอยู่ที่ 50,000-100,000 สโควิลล์ ส่วนพริกที่ได้รับการบันทึกลงในกินเนสส์บุ๊กว่าเผ็ดที่สุดในโลกก็คือ พริกฮาบาเนโร วัดค่าได้ถึง 350,000 สโควิลล์หรือมากกว่า
พริกอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ อย่าง วิตามินเอ วิตามินบี 6 วิตามินซี ธาตุแมกนีเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ใยอาหาร เป็นต้น โดยในพริก 100 กรัม จะมีวิตามินซีสูงถึง 144 มิลลิกรัมเลยทีเดียว !
หากต้องการลดความเผ็ดร้อนของพริกคุณควรรับประทานอาหารที่มีไขมันหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากกว่าที่จะดื่มน้ำ เพราะการดื่มน้ำจะมีผลเพียงแค่ช่วยให้บรรเทาอาการแสบร้อนได้เท่านั้น แต่ความเผ็ดยังคงอยู่ สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานพริกเพราะอาจจะทำให้กรดไปกัดแผลในกระเพาะอาหารได้ และสำหรับเด็กและผู้สูงอายุที่มักจะสำลักง่ายก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเช่นกัน และควรจะระวังพริกป่นตามร้านอาหาร พริกซองที่อาจจะมีสารอะฟลาทอกซินปนอยู่ ซึ่งเป็นสารพิษที่เกิดจากเชื้อรา หากร่างกายได้รับอย่างต่อเนื่องอาจจะเกิดการสะสมจนกลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด ดังนั้นควรเลือกรับประทานพริกป่นที่สะอาด ไม่มีเชื้อราและเปลี่ยนบ่อย ๆ ทุก ๆ 3 วันพร้อมทั้งการจัดเก็บในภาชนะที่แห้งและสะอาด
พริกประโยชน์ของพริก

ประโยชน์ของพริก

  1. พริกมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย
  2. ช่วยให้อารมณ์ดี ทำให้ร่างกายสร้างสาร Endorphin (สารแห่งความสุข)
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น
  4. วิตามินซีที่ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนในร่างกาย
  5. ช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา
  6. ช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหารยิ่งขึ้น
  7. สารแคปไซซินช่วยให้เกิดอาการตื่นตัวของร่างกาย
  8. ช่วยในการดีท็อกซ์ของร่างกาย
  9. พริกช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด ลดน้ำมูก และลดเสมหะ
  10. ช่วยบรรเทาอาการไอช่วยลดสารที่มากีดขวางระบบทางเดินหายใจอันเนื่องมาจากการเป็นไข้หวัด ไซนัส หรือโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ
  1. ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด หรือโรคเลือดออกตามไรฟัน
  2. ช่วยให้หายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น
  3. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง และความเผ็ดของพริกมีส่วนช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งได้
  4. ช่วยลดปริมาณสารคอเลสเตอรอลในร่างกาย ทำให้ปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดลดลง
  5. ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด เส้นเลือดสมองอุดตัน
  6. ช่วยในการสลายลิ่มเลือด
  7. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว
  8. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของหลอดเลือดให้ดียิ่งขึ้น
  9. ช่วยลดความดันโลหิต
  10. ช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรง ช่วยเพิ่มการยึดตัวของผนังหลอดเลือด
  11. ช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหารเพื่อการดูดซึมอาหารที่ดีขึ้น
  12. สาร Capsaicin ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร
  13. ช่วยให้ร่างกายขับถ่ายของเสียและนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อในร่างกาย
  14. ช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย ขับแก๊สในกระเพาะ
  15. มีส่วนช่วยในการขับปัสสาวะ
  16. ช่วยป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ในบริเวณจมูก ลำคอ ปอด เยื่อบุผนังช่องปาก
  17. ช่วยไม่ให้เมือกเสีย ๆ มาจับตัวกันภายในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วย
  18. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดต่าง ๆ เช่น อาการปวดฟัน เจ็บคอ การอักเสบของผิวหนัง อาการปวดศีรษะ ปวดเส้นเอ็น โรคเกาต์ ข้อต่ออักเสบ เป็นต้น
  19. พริกช่วยกระตุ้นให้อยากอาหารมากขึ้น
  20. ใช้ในการประกอบอาหาร ปรุงแต่งอาหาร
  21. นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่น พริกแห้ง พริกป่น พริกดอง ซอสพริก เครื่องแกง น้ำพริกต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์ยารักษาโรค
การประกอบอาหาร
Photo

ข้าวไข่ข้นกุ้งผัดพริกขี้หนู

ส่วนผสม

  1. ==ส่วนผสมไข่ข้น
  2. ไข่ไก่ 2 ฟอง
  3. น้ำปลา 1/4 ช้อนชา
  4. น้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ
  5. ข้าวสวย 1 จาน
  6. นมข้นจืด 2 ช้อนโต๊ะ
  7. ==ส่วนผสมกุ้งผัดพริกขี้หนู
  8. กุ้ง ปริมาณตามชอบ
  9. พริกขี้หนู 1 ช้อนชา
  10. กระเทียม 2 ช้อนชา
  11. น้ำมัน 1 ช้อนโต๊ะ
  12. น้ำปลา 1 ช้อนชา
  13. น้ำตาล 1/4 ช้อนชา

วิธี

ตั้งกระทะน้ำมัน ใส่กระเทียมสับ พริกขี้หนูสับลงผัดให้หอม ใส่กุ้งลงผัดให้สุก ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล ผัดให้เข้ากัน ตักขึ้นพักไว้
ผสมไข่ไก่ นมข้นจืดและน้ำปลา คนพอเข้ากัน เตรียมไว้ ตั้งกระทะใส่น้ำมันพืชพอร้อน ใส่ไข่ลงในกระทะคนเล็กน้อย ทิ้งไว้ให้ไข่มีลักษณะข้น ๆ อย่าให้สุกมาก ยกลง
ตักไข่วางบนข้าวสวย ราดด้วยกุ้งผัดพริก ตกแต่งด้วยผักชี จัดเสิร์ฟ

                                             เมนูอื่นๆ---คลิก---

ผักคะน้า

                                       ผักคะน้า
คะน้า เป็นผักที่มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชียซึ่งเพาะปลูกมากในประเทศจีน ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย รวมไปถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย
ผักคะน้าเป็นผักที่สามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี (แต่ช่วงเวลาเพาะปลูกที่ดีที่สุดจะในช่วงเดือนตุลาคม – เมษายน) มีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวสั้น สำหรับบ้านเราสายพันธุ์ที่นิยมปลูกจะมีอยู่ด้วยกัน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ใบกลม พันธุ์ใบแหลม พันธุ์ยอดหรือก้าน เป็นต้น เมื่อหาซื้อมาแล้วควรเก็บใส่ไว้ในกล่องหรือถุงพลาสติก มัดหรือปิดให้แน่นแล้วนำไปแช่ไว้ในช่องเก็บผักของตู้เย็น ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยรักษาวิตามินในผักให้คงอยู่ได้มากที่สุด
ผักคะน้าคะน้าเป็นพืชผักใบเขียวที่นิยมรับประทานกันทั่วไป เป็นผักที่หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง แต่มีสิ่งที่ควรจะระวังเป็นพิเศษนอกจากการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงแล้ว อาจจะต้องระวังในเรื่องของธาตุแคดเมียมที่อาจจะปนเปื้อนมากับน้ำและพื้นดินด้วย เพราะหากร่างกายได้รับเข้าไป มันจะเข้าไปสะสมในตับและไต ซึ่งจะเป็นพิษต่อตับและไตของคุณเอง และก่อนนำมารับประทานคุณควรล้างทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง ด้วยการล้างน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง หรือจะล้างด้วยการใช้น้ำก๊อกไหลผ่านอย่างน้อย 2 นาที หรือจะใช้สารละลายอื่น ๆ ก็จะดีมาก เช่น น้ำยาล้างผัก น้ำส้มสายชู เกลือละลายน้ำ เป็นต้น (เพราะผักคะน้านั้นได้ชื่อว่าเป็นผักที่พบสารพิษตกค้างหรือยาฆ่าแมลงมากที่สุด)
ผักคะน้ามีสารกอยโตรเจน (Goitrogen) ซึ่งการได้รับในปริมาณที่มากเกินไปอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคคอพอก และยังไปยับยั้งการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์อีกด้วย ซึ่งจะทำให้ร่างกายของเรานำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อยกว่าปกติ เป็นต้น ทางที่ดีที่สุดควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชนิดซ้ำ ๆ เดิม ๆ และควรเลือกรับประทานผักให้หลากหลาย ร่างกายจะได้ประโยชน์มากที่สุด

สรรพคุณของคะน้า

  1. สรรพคุณของผักคะน้ามีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้
  2. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานในกับร่างกาย ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง
  3. ช่วยบำรุงผิวพรรณและป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ
  4. ผักคะน้ามีวิตามินซี ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้นมากขึ้น (วิตามินซี)
  5. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (วิตามินเอ)
  6. คะน้ามีสารลูทีน (Lutein) ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจกได้ถึง 29% (ลูทีน)
  7. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมและยังช่วยป้องกันการเสื่อมของศูนย์จอตาได้อีกด้วย
  8. ช่วยบำรุงโลหิต
  9. ธาตุเหล็กและธาตุโฟเลตในผักคะน้ามีความสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง
  10. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
  1. ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำหน้าที่ช่วยขับออกซิเจนที่เลือดนำมาไว้ใช้
  2. ผักคะน้ามีแคลเซียม ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน (แคลเซียม)
  3. ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน (แคลเซียม)
  4. มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
  5. ผักคะน้ามีแมกนีเซียมสูง ซึ่งช่วยลดความถี่ของอาการไมเกรนลงได้ (ธาตุแมกนีเซียม)
  6. ช่วยชะลอปัญหาความจำเสื่อม ทำให้อัตราการเปลี่ยนของความจำช้าลง และช่วยชะลอการเสื่อมของอายุสมอง (วิตามินอี)
  7. มีคุณสมบัติช่วยป้องกันยับยั้งการเจริญของเนื้องอก ยับยั้งสารก่อมะเร็ง ต่อต้านอนุมูลอิสระและสารก่อมะเร็ง ช่วยส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ที่ช่วยขับพิษของสารก่อมะเร็ง

ประโยชน์ของคะน้า

ประโยชน์ของผักคะน้า
  • สามารถนำมาทำเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู เมนูคะน้าก็เช่น ผัดคะน้าหมูกรอบ ผัดผักคะน้า ยำก้านคะน้า ต้มจับฉ่าย คะน้าไก่กรอบ คะน้าปลาเค็ม คะน้าเห็ดหอม คะน้าปลากระป๋อง ข้าวผัดคะน้า เป็นต้น






การประกอบอาหาร

ข้าวสวยไข่แดงตุ๋นคะน้างาดำ

ส่วนผสม

  1. ข้าวสวย
  2. ไข่แดง                                                   
  3. งาดำคั่ว
  4. คะน้าซอย
  5. หมูสับละเอียด

วิธี

  1. เตรียมข้าวสวย คะน้าซอย ไข่แดง หมูสับละเอียด งาดำคั่วบด มาตีรวมกัน ใส่ภาชนะแล้วนำไปตุ๋น15 นาที



                   🔺🔺🔺🔺🔺🔺เมนูอื่นๆ --คลิก--🔺🔺🔺🔺🔺🔺